ถาม – ตอบ

คำถามที่พบบ่อย

Q-1 ทราบได้อย่างไรว่าโรงงานต้องรายงาน รว. ชนิดใดบ้าง? และต้องรายงานเมื่อไหร่?
A-1 ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงาน รว. และช่วงเวลาการรายงาน มีรายละเอียดระบุในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2558 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 หรือโรงงานสามารถตรวจสอบเบื้องต้นว่าต้องดำเนินการจัดทำรายงาน รว.หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้โดยการคลิก “ตรวจสอบโรงงานที่ต้องทำรายงาน(รว.)” ด้านซ้ายมือ ในหน้าหลัก 

Q-2 จะทราบได้อย่างไรว่าทางโรงงานได้ส่งรายงานเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว? 
A-2 เมื่อกรอกรายงานทุกฉบับเรียบร้อยและทำการกดปุ่ม “ส่งรายงาน” จะขึ้นข้อความ “ส่งรายงานเรียบร้อยแล้ว กรุณารอผลการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม” 
 

Q-3 โรงงานจะทราบผลการพิจารณารายงานได้อย่างไร? 
A-3 โรงงานจะได้รับอีเมลแจ้งผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาจะส่งไปอีเมลของผู้ประสานงานที่ได้กรอกไว้ในหน้า “ข้อมูลโรงงาน” 

Q-4 หากได้รับผลการพิจารณา “ไม่ผ่าน” ต้องทำอย่างไร?

A-4 ภายหลังจากโรงงานได้รับอีเมลแจ้งผลการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ โรงงานต้องดำเนินการเพิ่มเติม/แก้ไขรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์และต้องส่งรายงานที่แก้ไขใหม่ ภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันแจ้งผลรายงานทางอีเมล 

Q-5 พิกัดที่ตั้งโรงงาน พิกัดปล่องระบายอากาศ ควรหาอย่างไร 
A-5 สามารถหาพิกัดตำแหน่งของโรงงานได้โดยเลือกที่ตั้งจากจากเว็บไซต์ https://maps.google.com/ หรือใช้โปรแกรม (Application) ในมือถือ ที่สามารถระบุพิกัดได้ เช่น My GPS location, My GPS coordinates และ GPS locator for trekking เป็นต้น ทั้งนี้การเลือก “พิกัดของที่ตั้งโรงงาน” สามารถเลือกจุดใดในแผนที่ก็ได้ แต่ต้องเป็นพื้นที่ภายในเขตโรงงานเท่านั้น และ “พิกัดของปล่องระบายอากาศ” ควรเลือกจุด ณ ที่ตั้งปล่องจริง หรือใกล้เคียงที่สุด ทั้งนี้ต้องอยู่ในเขตพื้นที่โรงงาน

Q-6 กรณีที่โรงงานมีระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ไม่เข้าข่ายที่ต้องรายงานแบบ รว.2 หรือไม่เข้าข่ายที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ ควรทำอย่างไร 
A-6 แจ้งจำนวนระบบบำบัดน้ำเสียที่โรงงานมีใน แบบรายงาน รว.1 และเลือก “ไม่เข้าข่ายที่ต้องรายงาน” ในแบบ รว.2 ข้อ 2 และหากโรงงานมีการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์สามารถส่งรายงาน รว.2 ได้แต่ไม่ต้องลงชื่อผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำในการรับรองรายงาน 

Q-7 กรณีที่โรงงานมีระบบบำบัดน้ำเสีย และปล่อยออกสู่ภายนอกโรงงานทันที จะถือว่าจุดที่ปล่อยออกนอกโรงงานเป็นจุดน้ำออกจากระบบ หรือจุดระบายน้ำทิ้งและควรเก็บตัวอย่าง ณ จุดใด 

A-7 กรณีที่น้ำที่ผ่านการบำบัดถูกระบายออกนอกโรงงานเลย สามารถเก็บตัวอย่างจุดเดียวกันได้ โดยต้องเก็บทุกเดือน โดยรายงานผลของทั้งน้ำออกจากระบบบำบัด และน้ำทิ้งระบายออกนอกโรงงาน

 

Q-8 ในกรณีที่โรงงานมี 1 ระบบบำบัดน้ำเสียและ 3 จุดระบายออกนอกโรงงานดังรูป จะต้องรายงานแบบ รว.ใดบ้าง?
 
A-8 โรงงานต้องจัดทำรายงานมีดังนี้

    - รว.1 จำนวน 1 ฉบับ

    - รว.2 จำนวน 1 ฉบับ (จำนวนเท่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย) แต่ต้องรายงานข้อ 7 ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษในตัวอย่างน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน (ต้องรายงานแยกตามจุดระบาย) 
     

Q-9 ในกรณีมีปล่องระบายอากาศ ที่ไม่ได้ใช้งานต้องรายงานอย่างไร 
A-9 ให้กรอกข้อมูลในรว.3 เฉพาะข้อ 2.1 ข้อมูลทางกายภาพของปล่องระบายมลพิษอากาศ 

Q-10 จำนวนปล่องระบายอากาศที่ต้องรายงานในแบบรว.3 หมายถึงปล่องใดบ้าง 

A-10 จำนวนปล่องที่ใช้งานระบายมลพิษอากาศและปล่องที่ไม่ได้ใช้งาน โดยไม่นับรวมหอเผาทิ้ง (Flare)   

Q-11 โรงงานประเภทใดบ้างที่เข้าข่ายต้องระบายมลพิษอากาศ 

A-11 โรงงานที่มีหรือใช้หม้อน้ำเดี่ยวที่มีกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 10 ตันไอน้ำต่อชั่วโมงขึ้นไป กรณีใช้ของเหลวหรือของแข็งเป็นเชื้อเพลิง และโรงงานที่หม้อน้ำเดี่ยวมีกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 20 ตันไอน้ำต่อชั่วโมงขึ้นไป กรณีใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมมลพิษอากาศ เช่น โรงงานน้ำตาล โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น
 

Q-12 การบันทึกเป็น PDF

A-12 เครื่องที่สามารถบันทึกเป็น PDF ได้ ต้องมีโปรแกรม Adobe Acrobat แล้วเท่านั้น โดยสั่งพิมพ์แล้วทำการเลือกรูปแบบเป็น PDF ทำการบันทึก
เก็บได้

Q-13 ไม่ทราบวิธีการกรอก "ค่าสัดส่วนความร้อนเชื้อเพลิง" ในแบบ รว.3 ตารางที่ 5 

A-13 กรณีโรงงานมีการใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวในเดือนนั้นๆ ให้กรอกค่า เป็น 1 ได้เลย,  กรณีมีการใช้เชื้อเพลิงตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปให้กรอกสัดส่วนความร้อนเป็นทศนิยมให้มีผลรวมเท่ากับ 1  ,  โดยทศนิยมได้มาจากการคำนวณ  
หลักการคือ    ให้นำปริมาณการใช้เชื้อเพลิง 2 ชนิดขึ้นไปนั้นมาคูณกับปริมาณเชื้อเพลิงต่อหนึ่งหน่วย และทำให้หน่วยเท่ากันก่อน จึงมาหาสัดส่วนความร้อนซึ่งกันและกัน
 

Q-14 ทำไมขึ้นสถานะ กรอกแบบฟอร์ม
A-14 กรณีรายงาน รว. ขึ้น สถานะกรอกแบบฟอร์ม แสดงว่าผู้ประกอบการกดแค่บันทึก ยังไม่ได้ทำการกดนำส่งรายงาน
ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้อง กด ส่งรายงาน สถานะจะปรากฏเป็น รอพิจารณา